การดึงTextureเฉพาะจุดมาใช้งาน by

31
Jan
0

การดึง Texture ส่วนที่ขาวเฉพาะพื้นที่มาใช้สำหรับงาน Photoshop ทำง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยให้ลิงกิน

อันดับแรกสร้างพื้นก่อนค่ะ

เลือก Texture ที่ต้องการจะใช้ อย่างภาพนี้คือต้องการใช้จุดสีขาวปิ๊งๆภายในภาพสำหรับมาใช้ในการตกแต่งค่ะ

ก่อนอื่น ปรับให้เป็นขาวดำด้วยคำสั่ง Imge > Mode > Grayscale

โปะลงไปบนพื้นที่ต้องการ เหมือนจะทำโรตี้ ก็ต้องโปะแป้งลงบนกะทะ

*ปรับ Layer Style เป็น mode  Screen จะทำให้คัดส่วนที่ขาวที่สุดขึ้นมา

ปรับ Level ของภาพ เอาตามแต่ชอบ ว่าต้องการความชัดของจุด Texture มากน้อยเ่ท่าไหน แล้วจึงเอาไปประยุกต์ใช้กับภาพต่อๆไป

Example // หลังจากปรับ Screen mode และตกแต่ง Texture ให้เหลือแต่ประกายระยิบระยับ

Example 2 /// ใช้วิธีนี้กับ Texture อื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกันได้เช่นกัน ดังภาพที่ทำให้ตรงกลางของดอกไม้เป็นกลมเกลี้ยงประกายเหมือนดวงจันทร์

หมดเวลาสนุกกับ นุ้งมิลพาเพลิน ไว้เจอกันเดือนหน้า จบเห่ ชีวิตเมทัลค่ะ  <3

การแก้ปัญหา ScrollBar ของ Flex โผล่เมื่อใช้ CustomScrollBar จาก Catalyst by

31
Jan
0
ScrollBar ของ Flex ที่โผล่มาซ้อนกับ CustomScrollBar

ScrollBar ของ Flex ที่โผล่มาซ้อนกับ CustomScrollBar

จากการที่ใช้ Flash Catalyst สร้าง CustomScrollBar เพื่อนำมาใส่ใน Flex ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ScrollBar ของ Flex โผล่มาซ้ำซ้อนกับ CustomScrollBar ของเรา แม้ว่าเลื่อนไปล่างสุดก็ยังมีไอเม็มที่ยังเลยจาก CustomScrollBar ของเราอีก

เลื่อน CustomScrollBar สุดแล้วยังเห็นไอเท็มไม่ครบ

เลื่อน CustomScrollBar สุดแล้วยังเห็นไอเท็มไม่ครบ

ซึ่งวิธีแก้ที่จะเสนอในวันนี้เป็นวิธีการแก้ใน ActionScript ดังนี้ครับ

scroll3

Group ตัวอย่างที่นำมาใชเแสดงผล โดยมี id คือ groupList และจากที่เห็น dataProvider ของ List เราคือ aColvList ซึ่งเป็น ArrayList ที่ถูกกำหนดไว้ใน ActionScript แล้ว

scroll2

จากโค้ดข้างต้นเป็น mxml tag ของ CustomScrollBar ของเราซึ่งกำหนด Viewport ไว้คือ Group ที่ครอบลิสท์ไอเท็มของเราที่จะใช้

scroll4

ทีนี้มาถึงสวนที่เราใช้แก้ปัญหา ScrollBar ของ Flex ไม่ให้แสดงขึ้นมาคือการเติมส่วนที่กำหนดขนาดความสูงของ Group ของเรา ให้มีขนาดเท่ากับส่วนสูงของ Item ของเรา คูณด้วยจำนวนแถว ซึ่งอธิบายโค้ดได้ดังนี้

if(aColvList.length%5) // 5 คือจำนวนของ Item ใน 1 แถวว่ามีกี่ตัว ซึ่งเราทำการเช็คว่าจำนวนไอเท็มของเราพอดีกับแถวหรือไม่หรือมีจำนวนที่เกินมา

colvList.height = (int(aColvList.length/5)+1)*160; //ถ้ามีเกินมาซึ่งก็คือแถวสุดท้ายมี 1-4 ตัว ก็ทำการนำจำนวนไอเท็มทั้งหมดหาร 5 แล้ว +1 ก็จะได้จำนวนแถว + แถวที่เกินมาแล้วคููณกับความสูงของไอเท็มหรือแถวๆหนึ่ง ซึ่งในที่นี้คือ 160

else

colvList.height = int(aColvList.length/5)*160; //ถ้าไม่มีเกินก็ทำการหารเอาจำนวนแถวคูณกับความสูงของแถวได้เลยครับ

ที่นี้เราก็จะได้  CustomScrollBar มาใช้อย่างไม่มีปัญหาแล้วล่ะครับ

CustomScrollBar เมิ่อแก้ไขสำเร็จแล้ว

CustomScrollBar เมิ่อแก้ไขสำเร็จแล้ว

ความแตกต่างของลูป for กับ for each by

31
Jan
0

สำหรับตอนนี้จะไม่พูดถึงลูป for ธรรมดานะ (เราคิดว่าคุณรู้แล้ว)


มาเริ่มกันด้วยการสร้าง object ขึ้นมาก่อน

var obj:Object = {'id':'1','name':'myname','description':'descccc','image_name':'name/1.png','exp_max':'7'}

เราจะใช้ข้อมูลนี้กันนะ


อธิบายสิ่งที่อยู่ใน obj กันก่อน
‘id’:’1′ คือ คีย์ที่ชื่อ id เก็บข้อมูล 1 อยู่



มาเริ่มต้นที่ for( in ) กันก่อน

for(var k:String in obj){
trace(k);
}

ได้ key ออกมา คือ id name description image_name และ exp_max



มาดูกันต่อที่ for each( in )

for each(var d:String in obj){
trace(d);
}

ได้ data ออกมา คือ 1 myname descccc name/1.png และ 7


นำไปใช้กันให้ถูกนะคะ :)

มาทำความรู้จักกับ RSLs (Runtime Shared Libraries) by

31
Jan
0

RSLs (Runtime Shared Libraries) พูดกันง่ายๆคือการแชร์ library ที่ใช้ในแอพเป็นส่วนกลางในระหว่างการทำงาน จะช่วยลดขนาดของแอพที่โหลดขึ้นมา
ลองดูรูปง่ายๆกันก่อน

เปรียบเทียบระหว่างการใช้ rsls และไม่ใช้

เปรียบเทียบระหว่างการใช้ rsls และไม่ใช้

จากรูปจะเห็นได้ชัดว่า ถ้าไม่ได้ใช้ RSLs แอพแต่ละตัวจะเก็บ library ไว้ในตัวโปรแกรมของแต่ละตัวกันเอง ซึ่งเมื่อรันโปรแกรมแล้ว จะทำให้เกิดการโหลด library ที่ซ้ำๆกันออกมา

ส่วนภาพขวาคือการที่ใช้ RSLs ในการแยก library ออกมา เมื่อรันแอพแต่ละตัว ก็จะไม่มีการโหลดซ้ำของ library อีก

ความเหมาะสมของโปรแกรมที่จะใช้ RSLs คือ

1. เป็นแอพที่มีมินิเกมอยู่ข้างในโดยแยกตัว swf ออกจากกัน

2. ใช้ library เดียวกัน เช่น รูปภาพ ตัวละครในเกม

3. แอพที่มีขนาดใหญ่และต้องการที่จะลดขนาด เพื่อความสะดวกแก่คนที่เข้ามาใช้แอพ

แปลงภาพวาดเป็นลายเส้นแบบ Vector by

30
Jan
0

บางทีการค่อยๆ วาดเส้นในอิลลัสมันก็อาจจะยากและนานไปนิด

ในขณะที่เวลาวาดรูปบนกระดาษมันง่ายกว่าเย้อ

แต่ถ้าเกิดเราอยากใช้รูปของเรากับโปรแกรมอิลลัสขึ้นมาล่ะ??

เราก็มีวิธีค่ะ :-D ก่อนอื่นวาดรูปฟรีแฮนด์แล้วสแกนเข้าคอม

adjust the levels ในโฟโต้ฉอปให้เส้นสะอาดนะคะ

หลังจากนั้นไปที่ File >> Place รูปในโปรแกรมอิลลัส

เลือก Object >> Live Trace >> Tracing Options

จะมีหน้าต่างขึ้นมา ลองตั้งค่าตามนี้นะคะ

เสร็จแล้วกลับไปที่ Object >> Live Trace >>  Expand

เีรียบร้อย รูปวาดของเราก็จะเป็นลายเส้นแบบ Vector แล้วค่ะ

จะดึงจุด ปรับเส้น ลงสีฟรีแฮนด์ยังไงก็ตามสะดวกเลย ;-)

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน