ธุรกิจเกมไทย by

30
Nov
0

ธุรกิจเกม ภายในประเทศไทย
สร้างรายได้ประมาณ 900 ล้านบาท และมีอัตราเติบโต 20% ต่อปี
แต่เป็นเกมที่เข้ามาขายจากต่างชาติ ซึ่งมักจะเป็น จีน เกาหลี และยุโรป กว่า 85 %
โดยเกมจากคนไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 15 % เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นเกมไทยก็มีมูลค่าส่งออกถึงประมาณ 100 ล้านบาท

ในขณะที่แอพใหม่ๆออกมานับแสนแอพใน 1 วัน
เกมส่วนใหญ่ที่ออกมาจะเป็นเกมที่เล่นฟรี ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูง
แต่เกมเกมหนึ่งจะอยู่ได้นานหรือไม่ขึ้นอยู่กับครึ่งอายุเกม เช่นเกมดี เกมดัง เกมเก่าคลาสสิค
จะสามารถทำยอดขายได้ต่อเนื่องยาวนานคนเล่นจะยังมีอยู่เรื่อยๆ
ในขณะที่บางเกมครึ่งอายุของเกมสั้น ไม่นานคนจะค่อยๆเลิกเล่นจนหมด

ปัจจัยสำคัญคือความสนุก ต้นทุนในการทำเกม และทีมงาน

ความสนุกของเกม
วัดได้จากยอดผู้เล่นที่ออนไลน์ต่อเนื่องซึ่งอาจต้องลงทุนเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้เล่นเกมในระยะแรกด้วยวิธีต่างๆ เช่น
- โฆษณา
- จ้างผู้เล่นที่สามารถสร้างกระแสได้ เป็นคนเล่นพรีเซ้นต์เกม
- ระบบที่เอื้อต่อการชักชวนผู้เล่นคนอื่น ภายในเกม
- ผู้เล่นเกมที่เคยเป็นลูกค้าในเกมก่อนหน้า
- ระบบสนับสนุนการแชร์เกม เช่นมอบรางวัลให้
- ระบบโหวตให้ดาว
- ตั้งชื่อล้อเลียนเกมดัง หรือสิ่งอื่นๆที่กำลังเป็นกระแส
- Promote Partner หรือต่างฝ่ายต่างโฆษณาให้แก่กัน
- ระบบที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเสียประโยชน์เมื่อไม่ได้เข้าเล่น //เช่นเกมเก็บผักหรือเลี้ยงหมู
ซึ่งเมื่อนำเสนอเกมออกไปแล้วสามารถวัดผลความนิยมเกมได้ในสองเดือน

ต้นทุน
ซึ่งมีโมเดลธุรกิจอยู่หลายแบบ และมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น
- Out sort รับงานนอกเพื่อหาทุนมาทำเกมของตัวเอง
ข้อดีคือ เหมาะสำหรับการทำเกมที่ผู้จัดทำมีงบน้อย และมีเวลาในการทำมาก
ข้อเสียคือ เดธไลน์ของงานนอกสำคัญกว่าเกมที่ทำอยู่ ทำให้ทำเกมได้ช้า
ปัจจัยสำคัญ ต้องมีเซลล์แมนคอยรับงานมาให้เสมอๆ เพื่อให้มีงานต่อเนื่อง

- Invester หานายทุนที่สนับสนุนการทำเกม
ข้อดี หากเป็นนักลงทุนจากวงการเดียวกัน สามารถให้การสนับสนุนได้มากกว่าเงิน ให้ข่าวสาร เครือข่าย ให้คำแนะนำ และเข้าใจการทำงาน
ข้อเสีย หากเป็นนักลงทุนที่ไม่เข้าใจระบบการทำเกม อาจเจออุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และการสื่อสาร
ปัจจัยสำคัญ ควรมีพอร์ต งานประกวด หรือเคยทำเกมที่มียอดขายสูง หรือยอดผู้เล่นสูงเพื่อดึงดูดนักลงทุน

- เงินส่วนตัว หรือหาพาร์ทเนอร์ ทางธุรกิจ ลงทุนแบ่งหุ้นและแบ่งงาน
ข้อดี ไม่มีเจ้านาย เพราะทุกฝ่ายต่างเป็นเจ้าของเกมร่วมกัน
ข้อเสีย อาจต้องมีผู้ร่วมหุ้นหลายคน และต้องมีการจัดสรรปันส่วนที่ลงตัว
ปัจจัยสำคัญ ต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจในการร่วมลงทุน

- ทำพรีเซ้นต์ขอทุน ซึ่งต้องมีการคิดโปรเจคตั้งแต่ต้นจนจบเสร็จแล้วเพื่อหานายทุนที่สนับสนุน
ข้อดี ไม่ต้องลงเงินของตัวเอง และสามารถตั้งงบที่ต้องการเสนอขอเองได้
ข้อเสีย ทั้งหมดจะต้องลงแรงด้วยตัวเอง อาจต้องมีผู้ช่วย
ปัจจัยสำคัญ ต้องมีการคิดวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบในทุกด้าน ทั้งการลงมือทำเกม การคำนวนต้นทุนและคาดการณ์ผลกำไร

ทีมงาน
การทำเกมหนึ่งเกม ต้องมีตำแหน่งหลักสำคัญอย่างน้อย5ตำแหน่ง
- Business Develop – Publicher การตลาด หรือเข้าใจง่ายๆคือคนขายเกม
- Engineer – Programmer คนที่ลงมือทำเกม
- Artist ผู้ที่ทำงานอาร์ตสำหรับเกม
- Sound ดูแลงานเสียง
- Game designer ผู้มีประสบการณ์ทำเกม มีหน้าที่ควบคุมการทำเกมทั้งหมด
ซึ่งต้องมีความรู้รอบด้าน มีแนวคิดล้ำสมัย สื่อสารเก่ง และเชื่อมโยงการทำงานทุกตำแหน่งได้

Enjoy this article?

Consider subscribing to our RSS feed!

ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น

RSS feed for comments on this post

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน