การปรับค่าลักษณะต่างๆของ Text แต่ละบรรทัดใน RichEditableText by

30
Jul
0

จากบล็อคที่แล้วที่ได้แสดงถึงการสร้าง Chat ด้วย RichEditableText ในบล็อคนี้จะอธิบายอีกหนึ่งความสามารถของ RichEditableText ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า TextArea อีกอย่างนึงครับ

โดยปกติแล้ว TextArea จะสามารถแก้ไข Property ของ Text ได้ แต่ว่าจะทำการแก้ไขทั้งหมดไม่สามารถแก้ไขเป็นส่วนๆได้ ซึ่งความสามารถนี้มีใน RichEditableText ตามชื่อของมันเลย เรามาเริ่มจากการดู Property ของมันกันเลยครับ

chat-color

จากการนั่งเจาะดู Property ของมันทำให้ผมเห็นได้ว่า จริงๆแล้วการเก็บ Text ของ RichEditableText นั้นสามารถเก็บแยกๆกันเป็น Paragraph ได้เท่านี้ก็พอเดาได้ใช่ไหมครับว่าเราจะแก้ไข Text แยกกันเป็นส่วนๆได้อย่างไร โดยโค้ดมีหน้าตาดังนี้ครับ

var pe:ParagraphElement = new ParagraphElement; //สร้างตัวแปรย่อหน้า
var se:SpanElement = new SpanElement; //สร้างตัวแปรบรรทัด
se.text = obj.message; //ใส่ค่ากับ Span0
se.color = "#00FFFF"; //ใส่สี ในส่วนนี้สามารถกำหนดค่าลักษณะต่างๆของ Text ส่วนนี้ได้เลยครับ
pe.addChild(se) //กำหนดเสสร็จแล้วก็จับใส่ตัวแปรย่อหน้าเลยครับ
txtChat.content.addChild(pe); //แล้วก็ไปจับใส่ RichEditableText ได้เลยครับ โดยนำไป addChild ใส่ Property content ที่เป็น TextFlow

จากโค้ดข้างต้นเราจะใช้โค้ดดังกล่าวแทน txtChat.text+=obj.message เหมือนทั่วๆไป แต่เราจะสร้างตัวแปรเพื่อกำหนัดคุณลักษณะต่างๆของ Text ก่อนแล้วค่อยในไปใส่ RichEditableText ของเรา แล้วเราจะได้ผลลัพธ์ดังนี้เลยครับ

colorchat2

สร้างห้อง Chat โดยใช้ Spark ของ Adobe Flex by

30
Jul
1

ในที่จริงแล้วการสร้างห้อง Chat ดูเหมือนจะง่าย แต่หลังจากได้ทำแล้วส่วนที่มีปัญหาคือการเลื่อน Scrollbar อัตโนมัติทำงานไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ในวันนี้ผมเลยจะมาเสนอวิธีการสร้างห้อง Chat และทำให้มีการ Scroll ที่ถูกต้องครับ

<s:TextInput id="txtChatInput" keyDown="sendChat(event)" text="" x="7" y="133"/>
<s:RichEditableText id="txtChat" clipAndEnableScrolling="true" x="13" y="28" width="201" height="97" editable="false" selectable="false"/>
<s:VScrollBar id="scrllChat" viewport="{txtChat}" fixedThumbSize="true" skinClass="components.chat_scrollVerticalScrollbar" x="213" y="27"/>

จากด้านบน

  • TextInput คือส่วนที่จะให้ผู้ใช้ได้กรอกข้อความ
  • RichEditableText เป็นคอมโพเนนท์ที่คล้ายๆ TextArea แต่ว่าเป็นของ Tag Spark โดยมันมีความสามารถต่างๆเพิ่มเข้ามาทำให้ใช้งานได้ดีมากยิ่งๆขึ้นส่วนสำคัญคือสามารถใช้กับ Custom ScrollBar ของเราได้ดังข้อถัดไป
  • VScrollBar จากที่เห็นจะเป็นการใส่สกินของเราเองและใส่ viewport คือ RichEditableText ของเรา

chat01

ทีนี้โดยทั่วไปแล้ว เมื่อผู้ใช้ได้รับค่าเข้ามาเพื่ออัพเดท Chat เราจะทำการเลื่อนไปที่ล่างสุดโดยอัติโนมัติ แต่โค้ดโดยทั่วไปและ ตาม website ต่างๆได้เสนอมาว่าให้ใส่โค้ดดังนี้ในฟังก์ชั่นอัพเดทค่าห้อง Chat ของเรา ( id ของคอมโพเนนท์ อ้างอิงจากคอมโพเนนท์ด้านบน)

txtChat.appendText("\n"+obj.message); //เพิ่มค่าใน Chat
txtChat.validateNow(); //อัพเดทค่าล่าสุด
scrllChat.value = txtChat.contentHeight; //แบบที่ 1 ให้ Scroll ไปที่ส่วนที่ท้ายสุดของ chat
scrllChat.value = scrllChat.maximum ; //แบบที่ 2 ให้ Scroll เป็นค่าที่สูงที่สุด(ท้ายสุด) ของ Scroll

chat02

แต่ว่าทั้งสองแบบนั้น เมื่อเราทำการพิมหลายๆบรรทัดก็ยังคงทำให้เกิดบั๊คตามมา (แบบที่1มักเป็นกับแค่เพียงภาษาไทย แบบที่สองเป็นทั้งสองภาษา)

ซึ่งหลังจากที่ได้อ่าน Property ต่างๆของ RichEditableText ทำให้ได้การเขียนคำสั่งที่ทำให้ Chat สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตลอดดังนี้ครับ

txtChat.appendText("\n"+obj.message); //เพิ่มค่าใน Chat
txtChat.validateNow(); //อัพเดทค่าล่าสุด
txtChat.scrollToRange(txtChat.text.length,txtChat.text.length); //ใช้ฟังก์ชั่นเลื่อน Scroll ไปที่ตำแหน่งสุดท้ายของอักษรใน Chat ของเรา

chat03

จากด้านบนจะทำให้การเลื่อน Scroll อัตโนมัติของเราเลื่อลงมาล่าสุดได้ตลอดถูกต้องแล้วล่ะครับ

Reference : http://help.adobe.com/en_US/FlashPlatform/reference/actionscript/3/spark/components/RichEditableText.html

วาดเส้นง่ายๆกับแท็ก Spark Path by

29
Feb
0

โดยปกติแล้วโปรแกรมเมอร์อย่างๆเรา วาดเส้นต่างๆก็ลำบากแล้วใช่ไหมล่ะครับ

path01

อย่างเช่นถ้าจะให้วาดสามเหลี่ยมเป็นกราฟ ปกติแล้วก็คงจะสร้าง MovieClip มาแล้วใช้ AS3 วาดเส้นเอาโดยใช้ฟังก์ชั่นวาดรูปพื้นฐาน graphics.lineTo แบบนี้

var triangleShape:Shape = new Shape();

triangleShape.graphics.moveTo(0,0);

triangleShape.graphics.lineTo(100,0);

triangleShape.graphics.lineTo(100,100);

triangleShape.graphics.lineTo(0,100);

แต่แล้วใน Flex 4 หลังจากมี Spark แท็กเราก็สามารถวาดเส้นง่ายๆได้แล้วล่ะครับ

โดยวิธีที่จะมาเสนอในวันนี้คือแท็ก <s:Path> ครับ โดยแท็กนี้เราสามารถวาดเส้นต่างๆภายในบรรทัดเดียวได้เลยล่ะครับ!

โดยเจ้า Spark Path นี้มี Attribute ที่สำคัญหลักๆตัวเดียวเลยครับคือ data ที่มีไทป์เป็น String ธรรมดาๆนี่แหละครับ

เราสามารถวาดเส้นได้ดังนี้ครับ

ตัวอย่าง:
<s:Path data=”M 0 0 L 100 0 L 100 100 L 0 100 Z”>
<s:stroke>
<s:SolidColorStroke color=”#333333″ caps=”square” joints=”miter” />
</s:stroke>
<s:fill>
<s:SolidColor color=”#00CCFF” />
</s:fill>
</s:Path>

Stroke จะมีไว้กำหนดลักษณะของเส้น และ fill จะมีไว้กำหนดลักษณะของสีด้านในครับ
ทีนี้พระเอกของเราคือเจ้า data โดยเจ้า data จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างของเส้นวาดๆของเราครับ
วิธีใช้ก็เพียงแค่ใส่ตัวหนังสือที่ระบุความสมารถนำหน้าแล้วเคาะเว้นตามด้วยค่าต่างๆครับ
โดยตัวหนังสือจะกำหนดสิ่งต่างๆดังนี้

  • M / m
เลื่อนไปที่จุดๆนั้นเพื่อเริ่มมีค่าเท่ากับการใช้แท็ก graphics.moveTo
  • L / l
วาดเส้นจากจุดปัจจุบันไปยังจุดที่กำหนดมีค่าเท่ากับการใช้แท็ก graphics.lineTo
  • C / c
วาดเส้นโค้งจากจุดหลายๆจุด
  • Q / q
วาดเส้นโค้งจากจุดๆหนึ่ง
  • H / h
วาดเส้นแนวนอน
  • V / v
วาดเส้นแนวตั้ง
  • Z / z
วาดกลับไปยังจุดเริ่มต้น


ทีนี้เราก็เพียงนำค่าต่างๆมาต่อกันเป็น String โดยมีเว้นวรรคคั่นก็สามารถวาดรูปในบรรทัดเดียวได้แล้วครับ

ถ้าค่าของเราต้องเปลี่ยนจากการคำนวนก็เพียงตั้ง id ให้กับ Path ของเราแล้วเซ็ทค่า data ให้ตรงกับ String ที่ผ่านการคำนวนมาแล้ว

เช่นดังนี้ครับ

graphStat.data = “M “+musicX+” “+musicY+” L “+entertainX+” “+entertainY+” L “+charmX+” “+charmY+” Z”;

เท่านี้เราก็จะได้กราฟสามเหลี่ยมตามค่าที่เราตั้งไว้ได้ครับ

path02

การเปลี่ยนโค้ดจาก MX Compenent (Flex 3) มาเป็น Spark Component (Flex 4) by

30
Mar
0

จากครั้งที่แล้วที่ผมได้อธิบายถึงการเปลี่ยนโค้ดจาก Flex 3 มาใช้ใน Flex 4 นะครับซึ่งจะเป็นรูปแบบของโค้ดหรือการทำงาน ซึ่งในครั้งนี้ผมจะอธิบาย Component ต่างๆที่ส่วนมากจะถูกเปลี่ยนมาใช้กับ Spark ใน Flex 4 กันนะครับ

แท็กที่ถูกเปลี่ยนจาก MX มาใช้แบบ Spark

MX Component (Flex 3) Spark Component (Flex 4)
<mx:Button> <s:Button>
<mx:ButtonBar> <s:ButtonBar>
<mx:CheckBox> <s:CheckBox>
<mx:ComboBox> <s:DropDownList>
<mx:HorizontalList> <s:List>*
<mx:HRule> <s:Line>
<mx:HScrollBar> <s:HSlider>
<mx:List> <s:List>**
<mx:NumericStepper> <s:NumericStepper>
<mx:RadioButton> <s:RadioButton>
<mx:RadioButtonGroup> <s:RadioButtonGroup>
<mx:TextArea> <s:TextArea>
<mx:TabBar> <s:TabBar>
<mx:TextInput> <s:TextInput>
<mx:TileList> <s:List>***
<mx:ToggleButtonBar> <s:ButtonBar>
<mx:VideoDisplay> <s:VideoPlayer>
<mx:VRule> <s:Line>
<mx:VScrollBar> <s:VScrollBar>
<mx:VSlider> <s:VSlider>
<mx:Application> <s:Application>
<mx:Window> <s:Window>
<mx:WindowedApplication> <s:WindowedApplication>
<mx:Canvas> <s:Group>
<mx:HBox> <s:HGroup>
<mx:Panel> <s:Panel>
<mx:Tile> <s:Group>***
<mx:VBox> <s:VGroup>

*กำหนด Layout เป็น HorizontalLayout โดยใช้แท็ก <s:layout>

**กำหนด Layout เป็น VerticalLayout โดยใช้แท็ก <s:layout>

***กำหนด Layout เป็น TileLayout โดยใช้แท็ก <s:layout>

ตัวอย่างการใช้แท็ก Layout

<s:List>

<s:layout>

<s:TileLayout />

</s:layout>

</s:List>

แล้วอย่าลืมเปลี่ยน namespace อย่างที่ได้อธิบายใน การนำโปรเจ็คแอปพลิเคชั่นใน Flex Builder 3 ไปใช้งานใน Flash Builder 4 ไว้แล้วนะครับ เท่านี้ก็สามารถเปลี่ยน MX component ที่ใช้ใน Flex 3 มาเป็น Spark component ของ Flex 4 ได้แล้วล่ะครับ

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน