NEC 15/5/09 : ภาษีอากร by

28
May
0

เรื่องภาษีอากรเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ผู้ต้องการ หรือเพิ่งจัดตั้งบริษัทต้องมีความรู้ไว้ เนื่องจาก ภาษี คือค่าใช้จ่ายอย่างนึงที่ไม่สามารถหลีกเลี้ยงได้ แต่สามารถลดหย่อนได้หากรู้วิธี แล้วลดค่าใช้จ่ายก็ความถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ($_$)

ปัจจุบันกฎหมายทางบัญชีได้เลื่อนขึ้นเป็น พระราชบัญญัติ แล้วซึ่งหมายความว่าความผิดทางการบัญชีตัวอย่างเช่น

  • Nominee เพื่อหักค่าใช้จ่ายปลอม
  • ซื้อบิลเพื่อสร้างค่าใช้จ่ายปลอม
  • ปลอมบัญชี

ซึ่งมีโทษทางอาญา ซึ่งหมายถึงเข้าคุกเข้าตารางกันเลยทีเดียว ทำให้สรรพากรมีอำนาจการต่อรองมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และยิ่ง ปัจจุบันสรรพากรมีความสามารถในการตรวจเช๊คข้อมูลได้กว้างมากกว่าแต่ก่อนมาก โดย แผนก IT ของสรรพากร แข็งแกร่งขึ้นมากๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้ง

  • การศึกษา
  • การเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อื่นๆ

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้สรรพากรจับพวกทำเงินนอกระบบอย่าง โต๊ะบอล หรือ หวยใต้ดิน ได้มานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้ยังมีการส่งคนลง Site ไปแอบสืบข้อมูล เช่น ส่งนักศีกษาจบใหม่ไปที่หอหัก เพื่อตรวจสอบว่ารายได้ที่แจ้งมาเท๊จจริงแค่ไหน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดา หมายถึง

หมายถึง บุคคลธรรมดา คนทั่วไปทุกๆคน รวมถึง คณะบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อไม่แสวงกำไร แต่ปัจจุบันนำมาใช้เพิ่มฐานภาษี ตัวอย่างพวกดาราจะจดไว้หลายคณะบุคคลมาก และ ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • คณะบุคคล และ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ใช้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจดได้ ซึ่งนับเป็นคนธรรมดา 1 คน ซึ่งหมายถึงหักค่าลดหย่อนได้เพิ่ม
  • สามี ภรรยา จดทะเบียน แล้วนับรวมเป็นบุคคลเดียวกัน
    • รวมเงินได้นอกเหนือจากเงินเดือน จากภรรยาไปที่สามี ซึ่งทำให้ ฐานภาษีสูงขึ้น แต่แลกด้วยการหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิม จึงมีหลายคนหย่า/ไม่จดทะเบียน เพื่อประโยชน์ทางภาษี

เงินได้ที่พีงประเมิน

  • รายได้ทั่วไปที่ได้จากการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า ค่าจ้าง
  • รวมถึง ผลประโยชน์ที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ เช่น ของกำนัล ของรางวัล
  • ไม่ว่าเงินนั้นจะได้จากในหรือนอกประเทศ จะต้องเสีย เสียภาษี
    • [แต่] เงินได้ต่างประเทศ (กิจการ/งาน ที่ได้จากต่างประเทศ) ให้รอหลังปีที่ต้องเสียภาษี แล้วค่อยนำเงินเข้ามาจะไม่เสียภาษีที่ไทย

ประเภทเงินได้ และ หักค่าใช้จ่าย

  • ประเภท 1 เงินเดือน หลักได้ 40% ไม่เกิน 60,000
  • ประเภท 2 ค่านายหน้า เบื้ยประชุม หลักได้ 40% ไม่เกิน 60,000
  • ประเภท 6 Freelance => หมอ/เภสัช หักได้ 60% , วิศวะ บัญชี หักได้ 30% (หรือตามจริง ซึ่งต้องมีใบเสร็จ)
  • ประเภท 7 รับเหมา ต้องมีสัมภาระนอกจากเครื่องมือ (ต้องมีรายจ่ายต่อเนื่อง เช่น การจ้างคน วางเครื่อง) หักได้ 70% (หรือตามจริง ซึ่งต้องมีใบเสร็จ)

เงินที่ได้การยกเว้น

  • เบี้ยเลี้ยงตามความจำเป็น
  • การขายสังหา โดยไม่ได้มุ่งค้า หรือ เป็น มรดก
    • เช่น เปิดท้ายเป็นครั้งคราว แต่ ถ้าเปิดทุกอาทิตย์ ถือเป้นการมุ่งค้า เลยมีการลูกเล่นเช่น สลับชื่อคนจอง
  • เงินที่ได้จากอุปการะ (เลี้ยงดู แล้วตอบแทน)
    • อาจจะต้องมีหลักฐานว่าได้อุปการะ
  • เงินที่ได้โดยเสน่หาตามธรรมเนียม ซึ่งหมายความว่า ห้ามมีจำนวนมากเกินไป เช่นใส่ซองแต่งงานทีหลายล้าน

ค่าลดหย่อน

สามารถหักค่าลดหย่อนต่างๆเหล่านี้จากฐานรายได้เรา เพื่อลดภาษีที่ต้องจ่ายได้

  • หักตนเอง 30,000 บาท อันนี้หักฟรีๆทุกคน
  • สามี/ภรรยา (30,000 บาท) , บุพการี อายุ 60 ขึ้นไป ที่ไม่มีเงินได้ (30,000 บาท) , บุตร (15,000 บาท ไม่เกิน 3) ซึ่งเหล่านี้ใช้สิทธิซ้ำซ้อนไม่ได้
  • ประกันชีวิต (100,000 บาท) [ประกันชีิวิตเท่านั้น ประกันอย่างอื่นไม่นับ] และ ประกันชีวิตบุพการี อีก 15,000 บาท
  • กองทุน LTF (5 ปีถอนได้) 15% ของรายได้  ไม่เกิน 700,000 บาท
  • กองทุน RMF (อายุเกิน 60 ปี) 15% ของรายได้ ไม่เกิน 700,000 บาท
    • แนะนำว่า ซื้อตอนหุ้นตก เพราะกองทุนแปรตามราคาหุ้น
    • ใช้เงินคนอื่นซื้อให้ก็ได้
  • บริจาค (2% ของเงินได้)
    • บริจาค รร : มีทริกอยู่ว่าให้ออกบิลเป็น “อุปกรณ์การศึกษา” จะได้หักค่าลดหย่อนได้ 200%
    • บริจาคเกี่ยวกับ กีฬา จะหักได้ 150%

อัตราภาษี

  • ภาษี = (จำนวนเงินได้ – ค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีขั้นบันได
  • <=150,000 บาท
    • 0% ฟรี~ ไม่ต้องเสียภาษี
  • 150,001 – 500,000 บาท
    • 10%
  • 500,001 – 1,000,000 บาท
    • 20%
  • 1,000,001 -4,000,000 บาท
    • 30%
  • >4,000,001 บาท
    • 37%

การชำระ

  • แบ่งการชำระตามประเภทเงินได้
    • ประเภท 1. ภงด. 91 ชำระปีละครั้ง เดือนมีนาคม
    • ประเภท 2-4. ภงด. 90 ชำระปีละครั้ง เดือนมีนาคม
    • ประเภท 5-8. ชำระปีละ 2 ครั้ง
      • ภงด. 94 เดือนกันยายน
      • ภงด. 90 จ่ายส่วนที่เหลือ หักจากที่จ่ายไปใน ภงด. 94

ภาษีจากอสังหาริมทรัพย์

  • ได้จาก มรดก , เสน่หา หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50 ของเงินได้
    • แนะนำว่า ก่อนตายขายไปก่อน จะได้ไม่โดนภาษี
  • กรณีอื่นให้หักค่าใช้จ่ายตามประราชกฤษฎีกา
  • ถ้าขายโดยไม่มุ่งค้า ไม่ต้องเสียภาษีหมายความว่าต้องถือครองไว้เป็นระยะเวลานึง
    • ทีดินเปล่า ยึดครองเกิน 5 ปี
    • ที่อยู่อาศัย ยึดครองเกิน 1 ปี
      • ดูที่ตามปีที่โอน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

นิติบุคคล หมายถึง

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัท
  • มุลนิธิ, สมาคม, กิจการร่วมค้า

การคำนวณภาษี

ภาษี = (รายได้ – ต้นทุน – ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร + ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี) x อัตราภาษี

อัตราภาษี

  • SME (ทุนจดทะเบียน น้อยกว่า 5 ล้าน)
    • <=150,000 บาท
      • 0%
    • 150,001  บาท – 1,000,000 บาท
      • 15%
    • 1,000,001 บาท – 3,000,000 บาท
      • 25%
    • >=3,000,000 บาท
      • 30%
  • ถ้าทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้าน อัตราเดียว 30%

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี

หมายถึงไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

  • ใบเสร็จไม่สมบรูณ์
  • ค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินที่กำหนด
    • ค่ารับรอง / ของขวัญ (ไม่เกิน รายได้ 1 ล้านบาท ต่อ ค่าของขวัญ 3 พันบาท)
      • ของไม่เกินชิ้นละ 2,000 บาท
      • ต้องระบุว่าส่งของให้ใครด้วย เนื่องจากสรรพากรจะไปเก็บภาษีต่อที่คนรับ
    • ค่าเสื่อม
      • รถจะหักได้ 5 ปี ปีละ 200,000บาท
      • พวก Benz/BMW ซึ่งราคาเกิน 1 ล้าน จะมีวิธีเลี่ยงไปใช้ listing (เช่าทางการเงิน) แทน
        • หักได้เดือนละ 36,000 เป็นค่าใช้จ่าย
        • เมื่อจ่ายครบ 5 ปีเป็นของบริษัท แล้ว หักค่าเสื่อมต่อได้อีก 5 ปี
      • ค่าเสื่อมของ Equipment หักได้ 5 ปี 20%
      • ค่าเสื่อมของ R&D หักได้ 40% 3 ปี
  • ค่าใช้จ่ายที่กำหนดจ่ายจากกำไร
    • ค่านายหน้า เลี่ยงด้วยการ จ่ายจากยอดเงินที่ได้รับจากใบเสร็จ
    • โบนัส เลี่ยงด้วยการ ใช้เป็น performance bonus แทน
  • เงินเดือนของผู้ถือหุ้น ที่สูงเกินความจำเป็น
  • รายจ่ายผิดรอบบัญชี ตัวอย่างเช่น แต๊เอียข้ามปี ซึ่งเป็นการจ่ายสำหรับปีที่แล้ว
    • ต้องตั้งค้างจ่ายไว้ที่เดือน 12

ภาษีมุลค่าเพิ่ม

  • VAT ไม่ต้องคิดกับบริษัทนอก ยกเว้นจะนำงานนั้นมาใช้ในไทย

การชำระ

  • ชำระปีละ 2 ครั้ง
  • ภงด. 51 เดือนสิงหาคม โดยต้องทำการประเมินภาษีที่ควรจะจ่าย
    • กันประเมินพลาดให้จ่ายเท่ากับของภาษีปีที่แล้ว + เพิ่มไป 100 บาท
  • ภงด. 50 จ่ายส่วนที่เหลือ หักจากที่จ่ายไปใน ภงด. 51

Enjoy this article?

Consider subscribing to our RSS feed!

ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น

RSS feed for comments on this post

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน