การเขียน javascript ในรูปแบบ oop by

31
May
0

oop (Object Oriented Programming)
เป็นหลักการ เขียนโปรแกรมชนิดหนึ่งครับ บางคนอาจจะนึกไม่ออกแต่ถ้า บอกว่า เขียนในรูปแบบของ class กับ object หลายๆคนคงจะนึกออกน่ะครับ
แต่การเขียน javascript ในรูบแบบของ oop นั้นจะมีวิธีการเขียนที่แปลกสักหน่อย ครับ ดังนี้ครับ
รูปแบบการเขียน

จากตัวโครงสร้างการเขียน class เราจะสร้าง class Foo ขึ้นมา โดย
function Foo() {
}
จะเป็นเหมือนการประกาศ class ครับ
ส่วนการสร้าง Constructor จะเป็นการรับค่ามาจาก parameter
ในรูปแบบของ
function Foo(bar) {
// การสร้าง Constructor กับ Attribute
this.bar = bar;
this.baz = ‘baz’; // default value
}
โดย ใช้ this. การสร้าง Attribute ขึ้นมา
และส่วนการสร้าง Method นั้น จะใช้การเขียนแบบนี้ครับ
Foo.prototype.fooBar = function() {
};
ชื่อ class.prototype.ชื่อMethod = function ที่เราจะสร้าง
แต่ ชื่อ class.prototype. นั้นสามารถ ตามด้วย Attribute ได้ แต่ ค่าตัวนั้นจะเป็นค่า ของ class
คือ Object ที่สร้างจาก class นี้จะมีค่า เหมือนกัน เหมือนตัวอย่างนี้ ครับ

var Foo = function (name) { this.name = name; };
Foo.prototype.data = [1, 2, 3];
Foo.prototype.showData = function () { console.log(this.name, this.data); };

var foo1 = new Foo(“foo1″);
var foo2 = new Foo(“foo2″);

foo1.showData(); // “foo1″, [1, 2, 3]
foo2.showData(); // “foo2″, [1, 2, 3]

// ถ้าเราเพิ่ม ค่าลง ( prototype.data )
foo1.data.push(4);

// obj ทั้ง 2 จะเหมือนกัน
foo1.showData(); // “foo1″, [1, 2, 3, 4]
foo2.showData(); // “foo2″, [1, 2, 3, 4]

ประมาณนี้ครับ แต่ถ้าต้องการ แยก class ออกมาอีกไฟล์หนึ่งก็ใช้
module.exports = Foo;
ออกมาครับ

Enjoy this article?

Consider subscribing to our RSS feed!

ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น

RSS feed for comments on this post

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน