casting String to Number by

19
Jul
0

ขอเขียนเรื่องนี้หน่อยละกัน
เหมือนจะง่าย แต่พอจะใช้ก็ลืมมันทุกที – -”


เวลาเราเขียน as3 แล้วเชื่อมกับ php เนี่ย เวลา php ส่งตัวเลขมา พอมาถึงเรามันจะเป็น string ไปซะหมดเลย
การทำให้ string เป็น number นี่มันง่ายมากๆๆๆๆๆ แค่ casting มันเท่านั้น


มีทั้งหมด 3 วิธี


1. var num1:Number = parseInt(“1234567890″);
2. var num2:Number = new Number(“1234567890″);
3. var num3:Number = Number(“1234567890″);


ปกติจะใช้ข้อ 3 นะ ไม่รู้ทำไม สงสัยพิมพ์น้อยดี 555

remove all child in MovieClip by

31
May
1

โดยทั่วไป การ addChild และการ removeChild จะต้องระบุตัวที่ใส่ไปในตอนเอาออกด้วย

var objectMC:MovieClip = new MovieClip();
objectMC.addChild(obj);


objectMC.removeChild(obj);

ซึ่งวิธีนี้อาจจะมีบางจุดที่เราลืมเอาออกได้


วิธีที่ในวันนี้จะเอามาให้ดู คือการ removeChild ออกหมดเลยทีเดียว
เหมาะสำหรับการรีเซ็ตใหม่

while(objectMC.numChildren){
objectMC.removeChildAt(0);
}

พอโค้ดนี้ถูกเรียก เจ้าตัว objectMC ก็จะเป็น MovieClip เปล่าๆ ไม่มีลูกอยู่ข้างในเลย

break และ continue ในลูป for by

30
Apr
0

วิธีการใช้เจ้าสองตัวเนี๊ยะ จะใช้ทีต้องไป google ที เฮ้อ ขอเอามาไว้ตรงนี้เลยละกัน เผื่อคนที่ยังไม่รู้ด้วยนะ


break กับ continue ใน for ได้ด้วยนะเธอว์ นอกจากที่เราเห็นใช้กันใน switch case แล้ว


มาดูกันว่าใช้งานยังไง


เริ่มต้นด้วยการใช้ break ในลูป for ก่อนเลย

for(var i:int=1; i<23; i+=4){
if(i==13){
break;
}
trace(i);
}

ค่า output ที่ออกมาจะเป็น 1 5 9 แล้วไม่มีอะไรออกมาอีกแล้ว
เนื่องจากการใช้ break จะทำให้เราหลุดออกจากลูป for นี้ไปเลย


อ่ะ มาดู continue ในลูป for กันบ้าง

for(var i:int=1; i<23; i+=4){
if(i==13){
continue;
}
trace(i);
}

ค่า output จะออกมาเป็น 1 5 9 17 21
เนื่องจากการใช้ continue จะทำให้ข้ามบรรทัด trace(i); กระโดดขึ้นไปวนลูป for อีกที

อยากได้ code เก่ากลับคืนมา~ ทำไงดี? by

29
Feb
0

ในโปรแกรม Flash Builder เนี่ย แอบมีฟีเจอร์เด็ดๆซ่อนอยู่นะ ซึ่งหลายๆคนไม่รู้


หลายครั้ง หลายครา แก้โค้ดไป แก้โค้ดมา เฮ้ย ไอ้ของที่เคยเขียนเมื่อคราวที่แล้วมันก็ใช้ได้นี่นา แต่…ลบไปแล้ว อร๊ากกกกกก


โชคดีที่โปรแกรม Flash Builder มีฟีเจอร์นี้ทำให้เรารอดชีวิตมาได้ นั่นคือ local history
โปรแกรมเก็บโค้ดเวอร์ชั่นเก่าๆให้เราด้วย ไหนๆ ทำไงอ่ะ


คลิ๊กขวาบนหน้าจอโค้ดเราเลย –> Compare With –> Local History…
เดี๋ยวไม่เห็นภาพ อ่ะ



พอเปิดแล้วแท็บนี้ก็จะขึ้นมา

ทีนี้โปรแกรมจะแบ่งหน้าจอพร้อมกับเทียบโค้ดปัจจุบันกับโค้ดในอดีตที่เราเลือกมาให้เห็นชัดๆเลย



ขอบพระคุณ Flash Builder ที่มีฟีเจอร์นี้ให้โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยๆได้ย้อนเวลากลับไปมองหาอดีต
กราบบบ m(_ _)m

ความแตกต่างของลูป for กับ for each by

31
Jan
0

สำหรับตอนนี้จะไม่พูดถึงลูป for ธรรมดานะ (เราคิดว่าคุณรู้แล้ว)


มาเริ่มกันด้วยการสร้าง object ขึ้นมาก่อน

var obj:Object = {'id':'1','name':'myname','description':'descccc','image_name':'name/1.png','exp_max':'7'}

เราจะใช้ข้อมูลนี้กันนะ


อธิบายสิ่งที่อยู่ใน obj กันก่อน
‘id’:’1′ คือ คีย์ที่ชื่อ id เก็บข้อมูล 1 อยู่



มาเริ่มต้นที่ for( in ) กันก่อน

for(var k:String in obj){
trace(k);
}

ได้ key ออกมา คือ id name description image_name และ exp_max



มาดูกันต่อที่ for each( in )

for each(var d:String in obj){
trace(d);
}

ได้ data ออกมา คือ 1 myname descccc name/1.png และ 7


นำไปใช้กันให้ถูกนะคะ :)

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน