hello html by

30
Aug
0

หลังจากเขียนแต่ฝั่ง server มาสักระยะ ก็ต้องมาทำในส่วนของหน้าแสดงผลซึ้ง ตั้งใช้ความรู้ หลายเรื่องมากเช่น html css ajax jquery ซึ้งผก็ยังไม่มีความรู้เลย เลยต้องมาศึกษา เพิ่มหน่อย ตัวแรก ที่ต้องศึกษาเลย ก็คือ html เพราะเป็นพื้นฐานของอย่างอื่น ครับ งั้นเรามาทำความรู้จัก html แบบเร่งรัดกันครับ
html คือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารไฮเปอร์มีเดีย
(Hypermedia Document Description Language) เพื่อนำเสนอเอกสารนั้น เผยแพร่ในระบบเครือข่าย เว็บ นั้นเองครับ มันมีโครงสร้างการเขียน
ที่อาศัยตัวกำกับ เรียกว่า แท็ก (Tag) ควบคุมการแสดงผลของข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
Tag
Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < )
และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 อย่าง
เป็น tag เดี่ยว กับ tag เปิด /ปิด ดังนี้ครับ
tag เดี่ยว เป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส

Tag เปิด/ปิด เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash (/) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ

**แต่ html 5 เปลี่ยนมาให้เขียนในรูปแบบ Tag เปิด/ปิด ทั้งหมด ครับ

ต่อไปเรามาเรียนรู้คำสั่งที่จำเป็นต้องใช้ของมันกันครับ

Tag คำอธิบาย
<!–…–> กำหนดแสดงความคิดเห็น หรือ คอมเม้นต์
<! DOCTYPE> กำหนดชนิดของเอกสาร
<a> กำหนดจุดยึด
<abbr> กำหนดคำย่อ
<acronym> กำหนดตัวย่อ
<address> ข้อมูลการติดต่อผู้เขียนกำหนดสำหรับเจ้าของ / ของเอกสาร
<b> กำหนดข้อความเป็นตัวหนา
<big> กำหนดตัวอักษรขนาดใหญ่
<blockquote> กำหนดคำพูดยาว
<body> ตัวกำหนดของเอกสาร
<br /> กำหนดตัวแบ่งบรรทัดเดียว
<button> กำหนดกดปุ่ม
<caption> กำหนดคำอธิบายตาราง
<center> เลิก. เป็นศูนย์กลางกำหนดข้อความ
<cite> กำหนดการอ้างอิง
<code> กำหนดข้อความรหัสคอมพิวเตอร์
<col /> คุณลักษณะที่กำหนดค่าสำหรับคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งในตาราง
<colgroup> กำหนดกลุ่มของคอลัมน์ในตารางสำหรับการจัดรูปแบบ
<dd> กำหนดรายละเอียดของคำในรายการคำจำกัดความ
<del> กำหนดลบข้อความ
<dfn> กำหนดคำนิยามคำ
<dir> เลิก. กำหนดรายการไดเรกทอรี
<div> ส่วนกำหนดในเอกสาร
<dl> กำหนดรายละเอียด
<dt> กำหนดระยะ (รายการ) ในรายการความละเอียด
<em> กำหนดในการเน้นข้อความ
<fieldset> กำหนดเส้นขอบรอบ ๆ องค์ประกอบในรูปแบบ
<font> เลิก. กำหนดตัวอักษรสีและขนาดของข้อความ
<form> กำหนดรูปแบบ HTML ในการเข้าของผู้ใช้
<frame /> กำหนดหน้าต่าง (กรอบ) ใน frameset
<frameset> กำหนดชุดของเฟรม
<h1>,<h2>,<h3>,<h4>,<h5>,<h6> HTML กำหนดหัวเรื่อง
<head> กำหนดข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร
<hr /> กำหนดเส้นแนวนอน
<html> กำหนดเอกสาร HTML
<i> กำหนดตัวเอียง
<iframe> กำหนดเฟรมแบบอินไลน์
<img /> กำหนดภาพ
<ins> กำหนดแทรกข้อความ
<isindex> เลิก. กำหนดดัชนีค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร
<label> กำหนดป้ายชื่อสำหรับองค์ประกอบเข้า
<li> กำหนดรายการ
<link /> กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกสารและทรัพยากรภายนอก
<meta /> กำหนดข้อมูลเมตาเกี่ยวกับเอกสาร HTML
<noframes> กำหนดเนื้อหาสำรองสำหรับผู้ใช้ที่ไม่สนับสนุนการใช้เฟรม
<noscript> กำหนดเนื้อหาสำรองสำหรับผู้ใช้ที่ไม่สนับสนุนสคริปต์ฝั่งไคลเอนต์
<object> กำหนดวัตถุฝังตัว
<optgroup> กำหนดกลุ่มของตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกันในรายการให้เลือก
<option> กำหนดตัวเลือกในรายการเลือก
<p> กำหนดย่อหน้า
<param /> กำหนดพารามิเตอร์สำหรับวัตถุ
<pre> กำหนดจัดรูปแบบล่วงหน้าข้อความ
<q> กำหนดคำพูดสั้น ๆ
<s> เลิก. กำหนดตัวอักษรขีดทับ
<script> กำหนดสคริปต์ฝั่งไคลเอนต์
<select> กำหนดรายการเลือก (รายการแบบหล่นลง)
<small> กำหนดตัวอักษรขนาดเล็ก
<span> ส่วนกำหนดในเอกสาร
<strike> เลิก. กำหนดตัวอักษรขีดทับ
<strong> กำหนดข้อความที่แข็งแกร่ง
<style> ข้อมูลสำหรับกำหนดรูปแบบเอกสาร
<sub> กำหนด subscripted ข้อความ
<table> กำหนดตาราง
<tbody> กลุ่มเนื้อหาตัวในตาราง
<td> กำหนดเซลล์ในตาราง
<textarea> กำหนดหลายสายการควบคุมการป้อนข้อความ
<tfoot> กลุ่มเนื้อหาส่วนท้ายในตาราง
<th> กำหนดส่วนหัวของเซลล์ในตาราง
<thead> กลุ่มเนื้อหาส่วนหัวในตาราง
<title> กำหนดชื่อเรื่องของเอกสาร
<tr> กำหนดแถวในตาราง
<u> เลิก. กำหนดขีดเส้นใต้
<var> ส่วนกำหนดตัวแปรของข้อความ

ครับ ตอนนี้เราก็ทราบคำสั่งพื้นฐานของ html แล้วน่ะครับ

วิธีการจัดการ ไฟล์ unit test by

31
Jul
0

ในการ เขียน งานขึ้นมาสักงานหนึ่ง ไม่มีทางที่จะเขียนทุกอย่างๆลง ไฟล์ๆ เดียวได้ ต้องมีการแยกหมวดหมู่ออกมาโดยในที่นึ้
เราใช้วิธีการ เขียนแบบ MVC

เพราะฉะนั้นตัวไฟล์ของ unit test นั้น ก็ควรที่จะแบ่งเขียนออกมาตาม class เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน ดังรูป

untitled

แต่จะมีปัณหาเมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะรันทุกไฟล์ เพื่อตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทั้งหมดจะให้รันทีละไฟล์ก็เหนื่อยไป เราสามารถแก้ปัณหานี้ได้โดย
เอาทุกไฟล์มารวมไว้อยู่ใน โฟว์เดอร์เดียวกัน ในที่นี้ ใช้ testall
และผู้ใช้ก็สามารถใช้ คำสั่ง mocha ชื่อโฟว์เดอร์ ที่ต้องการ ได้เลยครับ ไม่จำเป็นต้อง ทีละไฟล์ แล้วสะดวกไหมล่ะครับ ^^

วิธีการออกแบบฐานข้อมูลบน redis by

29
Jun
0

redis นั้นเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่เป็น no-sql จึงทำให้มันไม่มีโครงสร้างตายตัว
โดยหลักการของมันนั้น จะทำการเก็บแบบ Key/Value โดย value ของมันจะเป็นแค่ string เท่านั้นน่ะครับ
ยกตัวอย่างเช่น
-> set key value
-> get key เพื่อเอาค่าของมัน
การทำงานหลักของมันมีแค่นี้ครับ แต่ในความเป็นจริงเราเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนมากกว่านี้มากครับ
ซึ่งวันนี้ผมก็จะนำนำทริกในการเก็บข้อมูลลง redis ให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นครับ
– รู้จักคำสั้งพื้นฐานกันก่อน
set :: คำสั่งพื้นฐานในการเก็บข้อมูลครับ
get :: คำสั่งแสดงข้อมูล โดยคำสั่ง get จะตามด้วย key ที่ต้องการ
key :: เป็นคำสั่งที่ใช้สำหนับดู key บนฐานข้อมูลของเรา
สามารถทดลองคำสั้งได้ที่ redis.io
การเก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง
การเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางนั้น สามารถใช้คำสั่งต่อไปนี้ครับ
ทีละ field
hset :: hset key ชื่อfield1 ” ค่า ”
hget ::hget key ชื่อfield1
ทีละหลายๆ field สามารถส่งเป็น array ได้ ครับ
hmset :: HMSET key ชื่อfield1 ” ค่า ” ชื่อfield2 “ค่า”
hmget :: จะเป็นการ คิวรี่ค่าออกจาก key โดยกำหนด ชื่อ field เข้าไปด้วยครับ

*hgetall :: จะเป็นคำสั่งที่เอาไว้แสดง value ของ field ทุก field ของ key นั้นๆ ครับ
ตัวอย่าง hgetall key
จะได้ข้อมูลออกมาเป็น array [ field : value ] ครับ
—————————————————————–
การตั้งชื่อ key ก็สำคัญ
การตั้งชื่อ key นั้นก็สำคัณในการค้นหาข้อมูลได้
เช่น เราตั้งชื่อ keyด้วยชื่อ ชื่อkey:ไอดีของผู้เล่น
เราสามารถใช้ คำสั้ง key ชื่อkeyที่ต้องการจะหา ตามด้วยเครื่องหมาย *
เช่น key monster:*
จะเป็นการแสดง keyทั้งหมดที่มี monster: นำหน้า ทำไห้เราสามารถนำkey นั้นมาวนหาค่าได้อีกด้วยครับ

การเขียน javascript ในรูปแบบ oop by

31
May
0

oop (Object Oriented Programming)
เป็นหลักการ เขียนโปรแกรมชนิดหนึ่งครับ บางคนอาจจะนึกไม่ออกแต่ถ้า บอกว่า เขียนในรูปแบบของ class กับ object หลายๆคนคงจะนึกออกน่ะครับ
แต่การเขียน javascript ในรูบแบบของ oop นั้นจะมีวิธีการเขียนที่แปลกสักหน่อย ครับ ดังนี้ครับ
รูปแบบการเขียน

จากตัวโครงสร้างการเขียน class เราจะสร้าง class Foo ขึ้นมา โดย
function Foo() {
}
จะเป็นเหมือนการประกาศ class ครับ
ส่วนการสร้าง Constructor จะเป็นการรับค่ามาจาก parameter
ในรูปแบบของ
function Foo(bar) {
// การสร้าง Constructor กับ Attribute
this.bar = bar;
this.baz = ‘baz’; // default value
}
โดย ใช้ this. การสร้าง Attribute ขึ้นมา
และส่วนการสร้าง Method นั้น จะใช้การเขียนแบบนี้ครับ
Foo.prototype.fooBar = function() {
};
ชื่อ class.prototype.ชื่อMethod = function ที่เราจะสร้าง
แต่ ชื่อ class.prototype. นั้นสามารถ ตามด้วย Attribute ได้ แต่ ค่าตัวนั้นจะเป็นค่า ของ class
คือ Object ที่สร้างจาก class นี้จะมีค่า เหมือนกัน เหมือนตัวอย่างนี้ ครับ

var Foo = function (name) { this.name = name; };
Foo.prototype.data = [1, 2, 3];
Foo.prototype.showData = function () { console.log(this.name, this.data); };

var foo1 = new Foo(“foo1″);
var foo2 = new Foo(“foo2″);

foo1.showData(); // “foo1″, [1, 2, 3]
foo2.showData(); // “foo2″, [1, 2, 3]

// ถ้าเราเพิ่ม ค่าลง ( prototype.data )
foo1.data.push(4);

// obj ทั้ง 2 จะเหมือนกัน
foo1.showData(); // “foo1″, [1, 2, 3, 4]
foo2.showData(); // “foo2″, [1, 2, 3, 4]

ประมาณนี้ครับ แต่ถ้าต้องการ แยก class ออกมาอีกไฟล์หนึ่งก็ใช้
module.exports = Foo;
ออกมาครับ

การทำ callback หลังจบลูป by

30
Apr
0

ในการใช้งานของ node.js นั้น จะมีพื้นฐานการทำงานแบบ Asynchronous ทำให้บางครั้ง

การที่เราต้องการค่าตัวสุดท้ายที่ออกมาจากลูป นั้นทำได้ยากมาก

ตัวอย่างเช่น

เรามี array อยู่ 1 ชุดจากนั้นเราต้องการ เอาค่าต่างๆใน  array ชุดนั้นมาเข้าฟังก์ชั่นที่ต้องรอ callback อีกทีหนึ่ง

แล้วเราก็ต้อง callback ค่าที่ได้นั้นๆออกมาเป็น array อีกที เราจะมีวิธีเขียนเพื่อทำงานในลักษณะนี้ยังไง

วิธีแก้ไขปัญหานี้ เราจะใช้ parallel ของ async lib เข้ามาช่วยโดยโครงสร้างของมันมีดังนี้
parallel(tasks, [callback])
async.parallel([
function(callback){
setTimeout(function(){
callback(null, 'one');
}, 200);
},
function(callback){
setTimeout(function(){
callback(null, 'two');
}, 100);
}
],
// optional callback
function(err, results){
// results จะมีค่าเป็น array [one,two]
});

จากตัวอย่างการเขียนเราสามารถเขียน เป็น Array ของ function ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยเรียกใช้งาน parallel ได้ แต่สิ่งที่เราต้องการนั้น
เราต้องเอาค่าใน array ไปเรียกใช้ function ก่อนด้วย จะมีลักษณะ การใช้ดังนี้
var aData = [1,2,3];
var aFunc = [];
for (var i in a)
{
//สั่งให้ มันรันคำสั่งนี้ทันที
(function(){
var temp = a[i];
var func = function(callback){
// เรียกฟังก์ชัน อืนเพื่อประมวนผลก่อน
funcA (temp, function(result){
callback(null,result);
}
};
aFunc.push(func);//เก็บ function ลง array
})();
}
async.parallel(aFunc,function(err,results){
//จะได้เป็น array ของข้อมูลที่ออกมาจากฟังก์ชั้น funcA});

 เราชนะรอบ 4 | ยืมเงิน 3000 ด่วน | แอพกู้เงิน | แอพเงินด่วน | สินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที | Site Map | กู้เงินก้อน | กระเป๋าตัง | thisshop และ ยืมเงินฉุกเฉิน 5000 ด่วน